วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

3 พระอรหันต์โชคลาภ (พระสีวลี พระอุปคุต พระสังกัจจายย์)

3 พระอรหันต์โชคลาภ (พระสีวลี พระอุปคุต พระสังกัจจายย์) (ขนาดฐานของท่านกว้าง 7 ซม. สูง 11 ซม. หล่อเหล็กน้ำพี้เนื้อดี)
ทำพิธีจัดสร้าง และอธิษฐานจิตแล้ว ภายในบรรจุมวลสารมงคลศักดิ์สิทธิ์ ---------------------------------------------
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพระอรหันต์โชคลาภ และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
Tel: 083-0340025 | LineID: chet111  
Email: PraSiwaleeThai@gmail.com 
Bloghttp://PraSiwalee.blogspot.com 
Webhttp://PraSiwalee.igetweb.com FBhttp://bit.ly/prasiwalee

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

พระสีวลีมหาโชคลาภ

ข้อมูลทั่วไปพระสีวลีเถระ 

พระนามเดิม สีวลีกุมาร, เจ้าชายสีวลี  สถานที่ประสูติ กรุงโกลิยะ
วิธีบวช ไตรสรณคมน์  เอตทัคคะผู้มีลาภมาก
อาจารย์ ผนวชในสำนักพระสารีบุตร  ฐานะเดิม   ชาวเมืองแคว้นโกลิยะ
นามพระมารดา  พระนางสุปปวาสา  วรรณะเดิม กษัตริย์ ราชวงศ์โกลิยราชวงศ์

พระสีวลีเถระ หรือ พระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล

พระสีวลีเถระเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะมากด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก

ชาติภูมิ 
พระสีวลีเถระ เป็นพระโอรสของพระนางสุปปวาส ผู้เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงโกลิยะ อยู่ในพระครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เมื่อทรงพระครรภ์ทำให้พระมารดาสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะมาก เมื่อประสูติก็ประสูติง่าย ด้ายพุทธานุภาพที่ทรงพระราชทานพรว่า "ขอพระนางสุปปวาสาจงมีความสุข ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชบุตรผู้ไม่มีโรคเถิด"

เมื่อประสูติและพระประยูรญาติขนานถวายพระนามว่า สีวลีกุมาร ในวันที่นิมนต์พระพุทธเจ้ามาเสวยภัตตาหารตลอด ๗ วัน สีวลีกุมารก็ได้ถือธมกรกรองน้ำถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ตลอด ๗ วัน

เมื่อเจริญวัย ท่านได้ออกผนวชในสำนักพระสารีบุตร ได้บรรลุอรหันตผลในเวลาปลงเกศาเสร็จ จากนั้นมาท่านสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะไม่ขาดด้วยปัจจัย ๔ ทั้งปวง ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก

บั้นปลายชีวิต
ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

พระสีวลีเถระในความเชื่อของคนไทย 
เนื่องจากพระสีวลีเถระเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางผู้มีลาภมาก คนไทยเชื่อว่าผู้ใดได้บูชาพระสีวลีเถระแล้ว จะได้รับโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา ซึ่งคนไทยก็เชื่ออีกว่าเคยมีผู้หนึ่งเคยได้รับมาแล้วในสมัยพุทธกาลก็คือ มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเกิดในตระกูลพ่อค้ามีนามว่า สุภาวดี นางได้เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา และนับถือพระสีวลีเถระเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อแม่นางได้ฟังธรรมจนลึกซึ้ง พระสีวลีก็ให้ศีลและให้พรว่า"จงเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สิน เงินทองจากการค้าขาย เงินทองไหลมาเทมาสมความมุ่งมาดปรารถนาด้วยเถิด"

หลังจากที่นางสุภาวดีได้รับพรจากพระสีวลีเถระแล้ว ไม่ว่านางและผู้เป็นบิดามารดาจะไปค้าขายที่ใด ก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มีแต่กำไรหลั่งไหลเข้ามาทุกครั้งไป ซึ่งนางสุภาวดีนั้นได้เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือนางกวักนั่นเอง
---------------------------------------------
---------------------------------------------
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพระสีวลีมหาโชคลาภ และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
Tel: 083-0340025 | LineID: chet111  
Email: PraSiwaleeThai@gmail.com 

พระพุทธรูปปางสมาธิพิชิตมาร (ปางมารวิชัย หรือ ชนะมาร หรือ สะดุ้งมาร)

พระพุทธรูปปางสมาธิ ที่เป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมวารรัชกาลที่ 4

พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพ พระพุทธรูปปางสมาธิ (ปางตรัสรู้)
ปางสมาธิ เป็นพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท (เท้า) ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย) จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัดกันซึ่งเรียกว่า (ปางขัดสมาธิเพชร)

เป็นท่านั่งสมาธิหลังจากพระพุทธเจ้าทรงกำจัดพระยามาร และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก (ปางมารวิชัย) ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้จนทำจิตให้ปราศจากอุปกิเลส บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน ซึ่งเป็นส่วนของรูปสมาบัติ ที่เรียกว่า "เข้าฌานสมาบัติ" จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่นั้น เจริญปัญญา หรือองค์วิปัสสนา จนได้บรรลุ "ญาณ" (คือ ความรู้แจ้ง) ที่เรียกว่า "อภิญญาญาณ" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด) ทั้งสามประการคือ ทรงบรรลุญาณที่หนึ่ง ในตอนปฐมยาม (ประมาณ 3 ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า "บุพเพนิวาสานุสติญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "อาสวักขยญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจสี่ คือความทุกข์ (ทุกข์) เหตุเกิดของความทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) วิธีดับทุกข์ (มรรค) และกำจัดอวิชชาไปจนสิ้นจากกมลสันดาน

ความเชื่อและคตินิยม 
เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดี  พระคาถาบูชา สวด 19 จบ
"ปูเรนตัม โพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะราฯ
จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมะ มันตินติ อักขาตัง ปะริตตัน ตัมภะฌามะเหฯ"

ปางมารวิชัย

ลักษณะพระพุทธรูปปางมารวิชัย (พระศรีศาสดา ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย)
มารวิชัย (มาระวิชัย) หรือ ชนะมาร หรือ สะดุ้งมาร เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้

พระบรมโพธิสัตว์ (พระพุทธเจ้าก่อนบรรลุธรรม) ได้เสด็จไปประทับใต้ต้นมหาโพธิ์ในเวลาเย็น และนั่งสมาธิกำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา เพื่อการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แต่จิตของพระองค์ แทนที่จะคิดไปในทาง โลกุตตรธรรม กลับหันไปคิดถึง โลกิยสุข แต่เมื่อครั้งอยู่ครองเรือน ในหนหลัง และผู้แต่งปฐมสมโพธิกถา ได้แสดงการผจญในโลกิยสุขของพระบรมโพธิสัตว์โดยใช้การผจญของมารเป็นสัญญลักษณ์ ดังนี้ว่าเป็น พระยาวัสสวดีมารซึ่งคอยติดตามพระองค์อยู่ จึงเข้าขัดขวาง โดยขี่ช้างคิรีเมขละ นำเหล่าเสนามารจำนวนมากเข้ามารบกวน หวังให้พระองค์เกรงกลัวจะได้ลุกขึ้นเสด็จหนีไป แต่พระองค์ก็ยังประทับนิ่งเป็นปกติโดยมิได้ทรงหวั่นไหว พระยามารจึงโกรธมาก สั่งให้เสนามารกลุ้มรุมกันประหารพระองค์ พระองค์จึงทรงนึกถึงบารมี 30 ทัศ ที่ทรงบำเพ็ญสั่งสมมาทุกชาติ โดยขอให้นางแม่พระธรณีเป็นพยาน แม่พระธรณีจึงผุดขึ้นมาจากพื้นดิน แล้วบิดมวยผมจนน้ำท่วม กระแสน้ำก็พัดพาพวกเสนามารไปหมดสิ้น พระยาวัสสวดีมารจึงยอมแพ้หนีไป
---------------------------------------------
---------------------------------------------
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพระบูชาและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
Tel: 083-0340025 | LineID: chet111  
Email: PraSiwaleeThai@gmail.com 

พระพุทธรูปปางนาคปรก


ลักษณะพระพุทธรูปนาคปรก
นาคปรก เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ และมีพญานาคแผ่หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป แต่เดิมทำเป็นรูปพญานาคเป็นมนุษย์ มีรูปงู 7 หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียร (ศีรษะ) ในกิริยาที่พญานาคทำท่านมัสการพระพุทธเจ้า ต่อมาภายหลังทำพญานาคเป็นรูปงูขดตัวเป็นฐานตั้งพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนตัวพญานาค และมีพังพานและหัวของพญานาค 7 เศียรปรกอยู่

หลังจากที่พระพุทธโคตมได้ทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้แปรที่ประทับเพื่อเสวยวิมุติสุขยังสถานที่ต่างๆ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์นักโดยประทับแต่ละที่สัปดาห์ละ 7 วัน และในสัปดาห์ที่ 6 ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ ได้บังเกิดมีฝนและลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย ผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อ มุจลินทร์ ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้ เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานว่า

ความสงัดคือความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้วได้รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความสำรวมไม่เบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ปราศจากกำหนัดหรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขอันประเสริฐในโลก ความขาดจากอัสมิมานะหรือการถือตัวตนหากกระทำให้ (การถือตัว) หมดสิ้นไปได้นั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง

พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย

ความเชื่อและคตินิยม
เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์  พระคาถาบูชา สวด 10 จบ (องคุลีมาลปริตร) ดังนี้
"ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิ ชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ"
---------------------------------------------
---------------------------------------------
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพระบูชาและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
Tel: 083-0340025 | LineID: chet111  
Email: PraSiwaleeThai@gmail.com 

หลวงพ่อทันใจ วัดพระธาตุดอยคำ


“หลวงพ่อทันใจ” ถ้าใครที่ติดตามข่าวจะทราบว่าก่อนหน้านี้ ได้มีนักธุรกิจชาวหาดใหญ่ได้มาบนบานขอต่อหลวงพ่อทันใจให้ตนเองขายที่ดินได้

พอกลับมาหลังจากขอพรเพียงไม่กี่วัน พรที่ขอก็สัมฤธิ์ผลขายที่ดินได้ดังปาฏิหารย์ จึงได้นำพวงมาลัยมะลิจำนวนหนึ่งแสนพวกไปแก้บน จนกลายเป็นข่าวใหญ่ สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักหลวงพ่อทันใจ เราจะพามาทำความรู้จักถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อกันค่ะ

“หลวงพ่อทันใจ” อยู่ที่ “วัดพระธาตุดอยคำ” เป็นพระวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวเชียงใหม่มากว่า 1,400 ปี เป็นสถานอันศักดิ์สิทธิ์เป็นศูนย์รวมน้ำใจของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเลยก็ว่าได้

”หลวงพ่อทันใจ” ท่านให้โชคลาภและมีญาณวิเศษที่ให้ผู้คนที่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ แม้กระทั่งอัมพฤกษ์หรืออัมพาต หายขาดมาได้รวมถึงผู้คนที่นิยมเสี่ยงดวงกับกับการซื้อหวย โชคดีกันไปอย่างไม่น่าเชื่อ


นอกจากนี้ “พระครูสุนทรเจติยารักษ์” เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยคำ ยังเล่าว่า….”ผู้ที่โชคดีมีบุญหลายราย ได้รับโชคจากการเข้ามากราบนมัสการพระธาตุและหลวงพ่อทันใจอันศักดิ์สิทธิ์ กันทั้งสิ้น ทั้งนี้ผู้ที่เข้ามาที่นี่เพื่อมานมัสการกราบไหว้ส่วนใหญ่จะมีธูปเทียนและดอกมะลิ (50 พวงขึ้นไป) แล้วนำมากราบนมัสการขอพรผู้นั้นจะโชคดี”

ตัวอย่างเรื่องราวเหลือเชื่อที่เล่าต่อๆ กันมาถึงความศักดิ์สิทธิ์ก็คือ ”ชาวฝรั่งที่มีภรรยาเป็นคนไทย ซึ่งชาวฝรั่งเป็นโรคอัมพฤกษ์ ได้พากันมากราบนมัสการหลวงพ่อทันใจด้วยดอกมะลิเช่นเดียวกันกับคนอื่นๆ พอมากราบท่านฯเสร็จแล้วกลับมาถึงบ้านไม่กี่วันก็หายขาด จากที่เคยนั่งรถเข้นกลับมาเดินได้เหมือนเดิม”


วิธีบน ขอพรจาก “หลวงพ่อทันใจ”

การอธิษฐาน จะต้องใช้ดอกมะลิสด 50 พวงขึ้นไป (จะมากกว่านั้นก็ได้เป็นร้อยพวงก็เคยมีคนทำมาแล้ว) และสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการให้อธิษฐานขอพร คือ ขอได้เพียง “อย่างเดียวเท่านั้น” ท่านถึงจะให้พรได้สมใจหวัง

ซึ่งปัจจุบันผู้คนที่มาอธิฐานและขอพรหรือบนบานศาลกล่าวกันเป็นจำนวนมาก พอได้โชคลาภ โชคดีดังที่ขอ ก็จะนำดอกมะลิมากราบไหว้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละวันจะมีคนนำดอกมะลิมากราบไหว้ไม่น้อยกว่าหลายร้อยหลายพันพวงเลยทีเดียว

สำหรับใครที่อยากสัมผัสกับความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทันใจ สามารถเดินทางไปได้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่วัดพระธาตุดอยคำ จะอยู่เหนือบริเวณ ”พืชสวนโลก” ไปกราบไหว้ขอพรให้ชีวิตมีโชคมีลาภรุ่งเรืองกันตลอดปีเลยนะคะ…
---------------------------------------------
---------------------------------------------
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพระบูชาและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
Tel: 083-0340025 | LineID: chet111  
Email: PraSiwaleeThai@gmail.com 

หลวงปู่ทวด (หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด)


หลวงปู่ทวด (หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์)  เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตำนานท้องถิ่นซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ยืนยันความมีอยู่จริง ประวัติที่พิมพ์เผยแพร่กล่าวว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวดเชื่อกันว่าพระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่านจะมีอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดในครอบครอง

ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมาก รูปสำคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทย คู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หลวงปู่โต) ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

ประวัติหลวงปู่ทวด

ตามตำนานกล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หลวงปู่ทวดมีนามเดิมว่า ปู เป็นบุตรของนายหู นางจัน ชาวบ้านวัดเลียบ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ส่วนวันเดือนปีเกิดของเด็กชายปู ตรงกับวันเดือนปีใด หลักฐานยังขัดแย้งกันมากมีผู้สันนิษฐานไว้หลายกระแส ดังนี้

เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม

เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ.ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป

ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น

โดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นำพระศพท่านไปไว้ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนมาเที่ยว


ละสังขาร 
หลวงปู่ทวด ได้ละสังขารด้วยโรคชราในปลายรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225ที่เมืองไทรบุรี สิริอายุได้ 100 ปี นับพรรษาได้ 80 พรรษา

คาถาสักการบูชาหลวงปู่ทวด 
การสักการบูชาให้ตั้งสวด นะโม 3 จบ ตามด้วยคาถานี้ 3 จบเช่นกัน

"นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา"

มีความหมายว่า "ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชคซึ่งเข้ามาสถิตอยู่ในตัวของข้าพเจ้านี้" คำว่า อาคนฺติมาย ควรจะเป็น อาคนฺตีมาย เนื่องจากเป็นคำสนธิระหว่าง อาคนฺติ กับ อิมาย แต่คงเสียงสระสั้นไว้เพื่อความไพเราะของภาษา
---------------------------------------------
---------------------------------------------
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพระบูชาและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
Tel: 083-0340025 | LineID: chet111  
Email: PraSiwaleeThai@gmail.com 

หลวงพ่อสด (พระมงคลเทพมุนี) วัดปากน้ำ

 
ประวัติโดยสังเขป‘หลวงพ่อสด’วัดปากน้ำภาษีเจริญ
                ชาติภูมิ  พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เดิมมีชื่อว่า “สด มีแก้วน้อย” เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๒๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้าoสองพี่น้อง ต.สองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรีก่อนอุปสมบท ได้เรียนหนังสือเมื่อเยาว์วัยกับพระภิกษุซึ่งเป็นน้าชาย ณ วัดสองพี่น้อง ต่อมาได้ศึกษาอักษรสมัยที่วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม

                เมื่ออายุ ๑๔ ปี โยมบิดาถึงแก่กรรม ท่านดำเนินการค้าสืบต่อจากบิดา จนถึงอายุ ๒๒ ปี และปี ๒๔๔๙  ได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอาจารย์ดี วัดประตูศาล เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเหนี่ยง อินฺทโชโต เป็นพระกรรมวาจารย์, พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “จนฺทสโร”

                อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา เรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อโหน่ง และหลวงพ่อเนียม ในระยะเวลาสั้นๆ ปวารณาพรรษา แล้วเดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อไป สมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) กับ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน)
                
สรุปแล้วท่านเคยศึกษาสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานในสำนึกต่างๆ ดังนี้
    
                ๑. พระอาจารย์โหน่ง วัดสองพี่น้อง ๒. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย  ๓. พระมงคลทิพยมุนี (มุ้ย) วัดสามปลื้ม  ๔. พระอาจารย์ดี วัดประตูศาล ๕. พระสังวรานุวงษ์ (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม ๖. พระครูญาณวิรัต (โป๊) วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม ๗. พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ ๘. พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่

                การศึกษาของหลวงพ่อสด จากอาจารย์ตามข้างต้นนี้ อยู่ในระยะเวลาประมาณ ๑๐ ปี จากปีที่ท่านอุปสมบทในปี ๒๔๔๙-๒๔๕๙

                เมื่อสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ องค์ต่อจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ จ.ธนบุรี ท่านมีความประสงค์ที่จะให้หลวงพ่อสดมีวัดอยู่เป็นหลักเป็นฐาน จึงหวังเอาตำแหน่งเจ้าอาวาสผูกหลวงพ่อไว้กับวัดปากน้ำ ซึ่งเป็นพระอารามหลวงวัดหนึ่ง เพื่อไม่ให้เร่ร่อนโดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งอีกต่อไป                
                ปี ๒๔๕๙ หลวงพ่อสดจึงรับบัญชาออกจากวัดพระเชตุพน ไปเป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ในปี ๒๔๖๓

                เมื่อแรกที่ท่านมาปกครองวัดปากน้ำ วัดมีสภาพกึ่งร้าง ท่านได้เริ่มสร้างความเจริญให้วัด โดยกวดขันพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด สอนสมถวิปัสนากัมมัฏฐาน ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งสำนักเรียนทั้งนักธรรมและบาลี สร้างโรงเรียนปริยัติธรรมที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น  จนวัดปากน้ำมีความเจริญขึ้นมาโดยลำดับ กลายเป็นศูนย์กลางปฏิบัติธรรมและการศึกษาบาลี ปฏิบัติสมถ-วิปัสสนากรรมฐาน

                สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ (พ.ศ.๒๕๐๒ -๒๕๐๘) ได้เขียนไว้ว่า   “หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้คำว่า “ธรรมกาย” เป็นสัญลักษณ์ของสำนักกัมมัฏฐาน วัดปากน้ำ ทีเดียว เอาคำว่า “ธรรมกาย” ขึ้นเชิดชู ศิษยานุศิษย์รับเอาไปเผยแพร่ทุกทิศ”
    
อีกตอนหนึ่งท่านเขียนเล่าว่า
                “คำว่า “ธรรมกาย” นั้นย่อมซาบซึ้งกันแจ่มแจ้ง เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำได้มรณภาพแล้ว กล่าวคือ เมื่อทำบุญ ๕๐ วัน  สรีระสังขารของพระคุณท่าน คณะเจ้าภาพได้อาราธนาเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร วัดชนะสงคราม มาแสดงธรรม

                เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร ได้ชี้แจงว่า คำว่า “ธรรมกาย” นั้นมีมาในพระสุตันตปิฎก ท่านอ้างบาลีว่า ตถาคต ๘๘ วาเสฏฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ  ซึ่งพอจะแปลความได้ว่า “ธรรมกายนี้เป็นชื่อของตถาคต  ดูกรวาเสฏฐะ” ทำให้ผู้ฟังเทศน์เวลานั้นหลายร้อยคนชื่นอกชื่นใจเป็นอย่างยิ่ง ทุกคนกราบสาธุการแด่เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร และประหลาดใจว่า ทำไมเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธรจึงทราบประวัติ และการปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ถูกต้อง

                ผู้เขียน (สมเด็จพระสังฆราชปุ่น) เรื่องนี้ก็แปลกใจมาก  เมื่อแสดงธรรมจบลงจากธรรมาสน์แล้วจึงถามผู้แสดงธรรมว่า คุ้นเคยกับหลวงพ่อวัดปากน้ำหรือ จึงแสดงธรรมได้ถูกต้องตามเป็นจริง

                พระธรรมทัศนาธร ตอบว่า “อ้าว ไม่รู้หรือ ผมติดต่อกับท่านมานานแล้ว หลวงพ่อวัดปากน้ำข้ามฟากไปฝั่งพระนครแทบทุกคราวไปหาผมที่วัดชนะสงคราม และผมก็หมั่นข้ามมาสนทนากับเจ้าคุณวัดปากน้ำ การที่หมั่นมานั้นเพราะได้ยินเกียรติคุณว่า มีพระเณรมาก แม้ตั้ง ๔-๕๐๐ รูป ก็ไม่ต้องบิณฑบาตฉัน วัดรับเลี้ยงหมด อยากจะทราบว่า ท่านมีวิธีการอย่างไรจึงสามารถถึงเพียงนี้และ ก็เลยถูกอัธยาศัยกับท่านตลอดมา”

สมณศักดิ์ “พระมงคลเทพมุนี” 

                พ.ศ.๒๔๖๔ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูสมณธรรมทาน”…พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระภาวนาโกศลเถร”….พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานพัดยศ

                ชั้นเปรียญ…พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ “พระมงคลราชมุนี”…พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ “พระมงคลเทพมุนี”

                อาพาธและมรณภาพ  พระมงคลเทพมุนี หรือหลวงพ่อสด เริ่มอาพาธด้วยโรคความดันโลหิตสูง ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๘ มีอาการขึ้นๆ ลงๆ พล.ร.จ.เรียง วิภัตติภูมิประเทศ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลทหารเรือ เป็นแพทย์ประจำตัวดูแลรักษา

                หลังจากได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระมงคลเทพมุนี” เมื่อปี ๒๕๐๐ อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น แต่กำลังใจของท่านนั้นเข้มแข็ง ไม่แสดงอาการรันทดใจใดๆ การต้อนรับแขกด้วยอาการยิ้มแย้มเสมอ

                หลวงพ่อสด อาพาธได้ประมาณ ๒ ปีเศษ จึงถึงแก่กาลมรณภาพด้วยอาการอันสงบ ณ ตึกมงคลจันสร เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ เวลา ๑๕.๐๕ น. สิริอายุได้ ๗๕ ปี พรรษา ๕๓
---------------------------------------------
---------------------------------------------
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพระบูชาและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
Tel: 083-0340025 | LineID: chet111  
Email: PraSiwaleeThai@gmail.com